วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมภาคใต้

 ภาคใต้ ผลงานศิลปะของท้องถิ่นภาคใต้ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่หลายอย่าง เช่น การทำเรือกอและ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เป็นต้น

         โนรา ป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้


หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น อย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่ง มาเป็นเวลานาน นักวิชาการเชื่อว่ามหรสพการแสดงเงา ประเภทหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ  และยังวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกมากมาย

วัฒนธรรมภาคกลาง

  ภาคกลาง แหล่งผลิตงานศิลปะทางภาคกลางส่วยมากจะอยู่ในจังหวัดรอบๆกรุงเทพมหานคร
แหล่งแหล่งผลิตผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัดกันทั่วไป เช่น ตุ๊กตาดินเผา อ.บางเสด็จ จ.พระนครสีอยุธยา เป็นต้น
การอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น
ผลงานศิลปะต่าง ๆ ในท้องถิ่นของไทย ถือเป็นของที่มีคุณค่า และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรหวงแหนและรักษาไว้ นักเรียนสามารถช่วยอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นได้ โดยอาจใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้
1.  ถ้ามีโอกาสที่จะเรียนรู้การทำผลงานศิลปะในท้องถิ่น ควรศึกษาและเรียนรู้จนสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้ เพื่อจะได้สืบสานผลงานศิลปะของท้องถิ่นต่อไป
2.  บันทึกเกี่ยวกับผลงานศิลปะชิ้นต่าง ๆ ในท้องถิ่น เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
3.  ไม่ทำลายผลงานศิลปะต่าง ๆ ในท้องถิ่น
4.  เข้าร่วมกิจกรรมแสดงผลงานศิลปะหรือกิจกรรมอนุรักษ์ผลงานศิลปะ
5.  หากพบรอยชำรุดของผลงานศิลปะให้แจ้งหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

การอนุรักษ์งานศิลปะในท้องถิ่น
ผลงานศิลปะในแต่ละท้องถิ่น ล้วนเป็นผลงานที่มีคุณค่า เราจึงควรภาคภูมิใจและช่วยกันอนุรักษ์ไว้ ซึ่งวิธีการอนุรักษ์ผลงานศิลปะเหล่านั้น อาจทำได้โดยวิธี ดังนี้
1.  สนับสนุนผลงานศิลปะโดยการอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานศิลปะในท้องถิ่นตามความเหมาะสม
2.  ถ้ามีโอกาสควรศึกษาเรียนรู้วิธีการสร้างผลงานศิลปะในท้องถิ่นนั้น ๆ จากศิลปินในท้องถิ่น และเข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงผลงานศิลปะในท้องถิ่น
3.  เผยแพร่ผลงานศิลปะให้เป็นที่รู้จักแก่คนท้องถิ่นอื่น ๆ
4.  เห็นคุณค่าของผลงานศิลปะในท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมภาคเหนือ

 ภาคเหนือ เป็นท้องถิ่นที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีประเพณีวัฒนธรรมหลากหลาย ดั้งนี้มีแหล่งกำเนิดงานศิลปะอยู่มากมาย เช่น แหล่งทำร่มบ่อสร้าง และแหล่งผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แหล่งทำถ้วยชามตราไก่ อ.เกาะคา จ.ลำปางเป็นต้น

ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)

ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดพิจิตร


           การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิจิตร จัดขึ้นในวันที่ 4 – 5 กันยายน ของทุกปี    ลำน้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิจิตร 

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมภาคอีสาน

ภาคอีสาน  ในท้องถิ่นนี้ มีผลงานศิลปะอยู่หลายแห่งด้วยกัน บางแห่งก็มีชื่อสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นต้น




ประเพณีบุญบั้งไฟ

เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล